1.นาย ถิรวัฒน์ โรจน์สัตตรัตน์ เลขที่ 1
2.นาย วิชญ์พล เหลืองสอาดกุล เลขที่ 3
3.นาย อาชาพล สำนักวิชา เลขที่ 6
4.นาย จารุวิชญ บุญยิ่ง เลขที่ 9
5.นาย ไตรภพ กาชัย เลขที่ 10
6.นาย ณัฐพงศ์ แซ่โอ๊ว เลขที่ 18
ห้องม.6/4
สงครามเย็น(Cool War)
วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557
แหล่งอ้างอิง
http://hilight.kapook.com/view/92088
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%99
https://www.google.co.th/search?q=coolwar&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ei=VZ7oUqCiAa2kigeo8IGoBQ&ved=0CAcQ_AUoAQ&biw=1280&bih=933#q=%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%99&tbm=isch&imgdii=_
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%99
https://www.google.co.th/search?q=coolwar&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ei=VZ7oUqCiAa2kigeo8IGoBQ&ved=0CAcQ_AUoAQ&biw=1280&bih=933#q=%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%99&tbm=isch&imgdii=_
สภาวการณ์หลังสงครามเย็น
สภาวการณ์หลังสงครามเย็น
ในช่วงทศวรรษ 1980-1991 ถือเป็นช่วงที่เกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในสหภาพโซเวียต เมื่อในช่วงนั้นสาธารณรัฐเล็ก ๆ ที่เป็นชนกลุ่มน้อยในสหภาพโซเวียตได้เริ่มปลุกกระแสชาตินิยมเพื่อเรียกร้องอิสรภาพจากโซเวียต และโดยเฉพาะในช่วงปี 1985-1991 ที่ มิฮาอิล กอร์บาชอฟ ได้นำนโยบายกาสนอสท์-เปเรสทรอยก้า มาใช้ปฏิรูปประเทศ ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าวได้ทำให้ประชาชนในสหภาพโซเวียตเริ่มตระหนักถึงเสรีภาพในการดำรงชีวิต และในที่สุดก็นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991
ทั้งนี้ เมื่อลัทธิคอมมิวนิสต์ในโซเวียตล่มสลายแล้วก็นับเป็นการสิ้นสุดของยุคสงครามเย็นและเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 หรือโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ที่จัดเป็นโลกในสังคมแห่งยุคข่าวสาร จากนั้นบทบาทของโซเวียตในเวทีโลกก็ลดน้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด เพราะการแตกออกเป็นสาธารณรัฐต่าง ๆ ทำให้สหภาพโซเวียตเดิมอ่อนแอลงมาก อีกทั้งการเกิดขึ้นของรัสเซียใหม่ (Neo-Russia) ภายหลังการล่มสลายของโซเวียต ก็ทำให้รัสเซียต้องหมกมุ่นอยู่กับปัญหาการเมืองภายในของตัวเอง และปัญหาของการเป็นผู้นำกลุ่มประเทศในเครือจักรภพรัฐเอกราช ดังนั้นจึงทำให้สหรัฐอเมริกาก้าวเข้ามามีบทบาทเต็มที่เพียงหนึ่งเดียวในโลกยุคโลกาภิวัตน์
นอกจากนี้ เหตุการณ์ที่เป็นนับว่าเป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดของสงครามเย็น ก็คือ การทำลายกำแพงเบอร์ลิน ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 และการรวมประเทศเยอรมนีทั้งสองเข้าเป็นประเทศเดียวกัน ในปี ค.ศ. 1990 พร้อมกับการสิ้นอำนาจของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในหลายประเทศของยุโรปตะวันออก และการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสันติภาพหลังยุคสงครามเย็นอย่างแท้จริง
ในช่วงทศวรรษ 1980-1991 ถือเป็นช่วงที่เกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในสหภาพโซเวียต เมื่อในช่วงนั้นสาธารณรัฐเล็ก ๆ ที่เป็นชนกลุ่มน้อยในสหภาพโซเวียตได้เริ่มปลุกกระแสชาตินิยมเพื่อเรียกร้องอิสรภาพจากโซเวียต และโดยเฉพาะในช่วงปี 1985-1991 ที่ มิฮาอิล กอร์บาชอฟ ได้นำนโยบายกาสนอสท์-เปเรสทรอยก้า มาใช้ปฏิรูปประเทศ ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าวได้ทำให้ประชาชนในสหภาพโซเวียตเริ่มตระหนักถึงเสรีภาพในการดำรงชีวิต และในที่สุดก็นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991
ทั้งนี้ เมื่อลัทธิคอมมิวนิสต์ในโซเวียตล่มสลายแล้วก็นับเป็นการสิ้นสุดของยุคสงครามเย็นและเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 หรือโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ที่จัดเป็นโลกในสังคมแห่งยุคข่าวสาร จากนั้นบทบาทของโซเวียตในเวทีโลกก็ลดน้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด เพราะการแตกออกเป็นสาธารณรัฐต่าง ๆ ทำให้สหภาพโซเวียตเดิมอ่อนแอลงมาก อีกทั้งการเกิดขึ้นของรัสเซียใหม่ (Neo-Russia) ภายหลังการล่มสลายของโซเวียต ก็ทำให้รัสเซียต้องหมกมุ่นอยู่กับปัญหาการเมืองภายในของตัวเอง และปัญหาของการเป็นผู้นำกลุ่มประเทศในเครือจักรภพรัฐเอกราช ดังนั้นจึงทำให้สหรัฐอเมริกาก้าวเข้ามามีบทบาทเต็มที่เพียงหนึ่งเดียวในโลกยุคโลกาภิวัตน์
นอกจากนี้ เหตุการณ์ที่เป็นนับว่าเป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดของสงครามเย็น ก็คือ การทำลายกำแพงเบอร์ลิน ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 และการรวมประเทศเยอรมนีทั้งสองเข้าเป็นประเทศเดียวกัน ในปี ค.ศ. 1990 พร้อมกับการสิ้นอำนาจของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในหลายประเทศของยุโรปตะวันออก และการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสันติภาพหลังยุคสงครามเย็นอย่างแท้จริง
วิกฤตการณ์ช่องแคบฟอร์โมซา/วิกฤตการณ์คิวบา
วิกฤตการณ์ช่องแคบฟอร์โมซา
แต่เดิมเกาะไต้หวันมี ชื่อว่า เกาะฟอร์โมซา (Formosa) หรือ Ilha Formosa ในภาษาโปรตุเกส แปลว่า "เกาะสวยงาม" เนื่องจากประเทศโปรตุเกสเคยเดินทางมายังเกาะนี้และได้ตั้งชื่อเอาไว้ แต่ก็ไม่ได้ยึดเอามาเป็นอาณานิคม
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1954 จีนมีนโยบายที่จะรวมไต้หวันกลับคืนมาเป็นของจีน แต่ทางสหรัฐอเมริกาได้ส่งกองเรือที่ 7 มาลาดตระเวนในทะเลจีนตอนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ช่องแคบไต้หวัน ทำให้จีนพยายามผลักดันให้สหรัฐอเมริกาออกจากบริเวณนี้ ด้วยการระดมยิงหมู่เกาะนอกฝั่งที่ช่องแคบไต้หวัน อันได้แก่ เกาะคีมอยและเกาะมัทสุ
สหรัฐอเมริกามองว่าจีนเป็นผู้รุกราน ดังนั้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1954 สหรัฐอเมริกาจึงออกแถลงการณ์ว่า สหรัฐอเมริกาจะป้องกันเกาะคีมอยและเกาะมัทสุ เช่นเดียวกับเกาะไต้หวัน จากนั้น สหรัฐอเมริกาได้ส่งกองทหารไปประจำที่ไต้หวันและได้ลงนามในสัญญาพันธมิตรทางทหารเพื่อการป้องกันร่วมกันกับไต้หวัน
เมื่อจีนเห็นว่าวิธีการของตนไม่ประสบผลสำเร็จ แต่กลับทำให้สหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไต้หวันยิ่งขึ้น จีนจึงลดการะดมยิงและยุติไปในที่สุด ขณะที่สหรัฐอเมริกามองว่าจีนเป็นตัวแทนของโซเวียต เพราะจีนได้ลงนามในสัญญามิตรภาพ พันธมิตรและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นเวลา 30 ปี ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1950 สหรัฐอเมริกาจึงเริ่มนโยบายปิดล้อม (Containment Policy) เข้ามาในเอเชีย โดยการทำสัญญาพันธมิตรทางทหารกับประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย เป็นต้น
วิกฤตการณ์คิวบา
คิวบาได้เปลี่ยนแปลงเป็นคอมมิวนิสต์ เมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1959 เมื่อนายฟิเดล คาสโตร สามารถยึดอำนาจจากรัฐบาลเผด็จการของนายพลบาติสตา (Batista) ซึ่งสหรัฐอเมริกาสนับสนุนอยู่ คาสโตรต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมในคิวบาให้มีความยุติธรรมและความเท่าเทียมกันมากขึ้น โดยดำเนินการปฏิรูปที่ดินและปรับปรุงสวัสดิการทางสังคมแก่ประชาชน
คาสโตรเป็นนักปฏิวัติชาตินิยมและต่อต้านสหรัฐอเมริกา เพราะสหรัฐอเมริกาเข้าครอบงำและมีอิทธิพลทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจในคิวบามาเป็นเวลาช้านาน อีกทั้งยังมีฐานทัพอยู่ที่กวนตานาโม (Guantanamo) บนเกาะคิวบา คาสโตรจึงรู้สึกหวาดระแวงสหรัฐอเมริกาและมีนโยบายใกล้ชิดกับประเทศคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโซเวียตซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือทั้งทางด้านทหารและทางเศรษฐกิจแก่คิวบา
ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างคิวบากับโซเวียตทำให้สหรัฐอเมริกาไม่พอใจ เพราะจะช่วยขยายอิทธิพลของโซเวียตแถบทะเลแคริบเบียนและอเมริกากลาง ในขณะเดียวกันชาวคิวบาที่ลี้ภัยในสหรัฐอเมริกาก็ได้รับการฝึกฝนและสนับสนุนจากองค์การข่าวกรองกลาง หรือซีไอเอของสหรัฐอเมริกาให้ยกพลขึ้นบกในคิวบาเพื่อโค่นล้มคาสโตร แผนการนี้ได้เริ่มในปลายสมัยประธานาธิบดีไอเซนฮาวเวอร์ ต่อมาเมื่อได้รับอนุมัติจากประธานาธิบดีเคเนดี้
ภาพประกอบจาก AFP
กองกำลังคิวบาลี้ภัยได้ยกพลขึ้นบกที่เบย์ ออฟ พิกส์ (Bay of Pigs) ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1961 เพียง 3 เดือนภายหลังจากที่เคเนดี้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี โดยผู้ลี้ภัยคิวบาเหล่านี้ คาดหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในการโค่นอำนาจคาสโตร แต่การยกพลขึ้นบกครั้งนี้ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะขาดการวางแผนที่ถูกต้องและการประสานงานกับชาวคิวบาที่ต่อต้านคาสโตรภายในประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น กองกำลังปฏิวัติของคาสโตรสามารถจับกุมชาวคิวบาลี้ภัยเหล่านี้และใช้เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านสหรัฐอเมริกา ภาพพจน์ของสหรัฐอเมริกาและประธานาธิบดีเคเนดี้ต้องเสียหายอย่างมากจากกรณีการบุกคิวบาในครั้งนี้
คิวบาได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาในปีต่อมา ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1962 ฝ่ายข่าวกรองของสหรัฐอเมริกาได้ค้นพบจากภาพถ่ายทางอากาศว่า โซเวียตกำลังสร้างฐานส่งขีปนาวุธนิวเคลียร์บนเกาะคิวบา ซึ่งถ้าหากสร้างสำเร็จและติดตั้งขีปนาวุธได้ก็จะเปรียบประดุจมีขีปนาวุธนิวเคลียร์อยู่หน้าประตูบ้านของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา
ขณะที่ ครุสชอฟ ประธานาธิบดีของโซเวียต คงคิดว่าจะสามารถลอบสร้างฐานยิงจนเสร็จ และเมื่อติดตั้งขีปนาวุธแล้วสหรัฐอเมริกาก็คงไม่กล้าทำอะไร เพราะจะเป็นการเสี่ยงอย่างมากต่อสงครามนิวเคลียร์ อีกทั้งสหรัฐอเมริกาก็ดูเหมือนจะไม่กล้าใช้กำลังรุนแรงโซเวียต เพราะเชื่อว่าตนจะได้เปรียบทางยุทธศาสตร์และจะทำให้พันธมิตรนาโต้ของสหรัฐอเมริกาหมดความเชื่อถือว่า สหรัฐอเมริกาจะสามารถปกป้องยุโรปตะวันตกได้เมื่อเกิดสงคราม
แต่ผู้นำของโซเวียตก็คาดคะเนผิดพลาด เพราะประธานาธิบดีเคเนดี้ของสหรัฐอเมริกาได้ตอบโต้อย่างหนักแน่นโดยการปิดล้อมคิวบา ในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1962 ประธานาธิบดีเคเนดี้ได้แจ้งให้โซเวียตทราบถึงการปิดล้อมคิวบา พร้อมเตือนโซเวียต ในระหว่างวิกฤตการณ์กองกำลังยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาได้เตรียมพร้อมต่อการถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ สหรัฐอเมริกาได้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงไปชี้แจงสถานการณ์พร้อมด้วยภาพถ่ายและหลักฐานอื่น ๆ ต่อคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติและพันธมิตรในยุโรป
จุดวิกฤตของสถานการณ์ครั้งนี้ก็คือ เมื่อเรือสินค้าจำนวนหนึ่งของโซเวียต ซึ่งเชื่อว่าบรรทุกขีปนาวุธนิวเคลียร์เพื่อมาติดตั้งยังคิวบาได้เข้าใกล้กองเรือของสหรัฐอเมริกาที่กำลังปิดล้อมคิวบาอยุ่ในวันที่ 24 ตุลาคม แต่เรือเหล่านี้ก็หันลำกลับไปยังโซเวียต โดยมิได้ฝ่ากองเรือปิดล้อมเข้ามา ซึ่งถ้าหากโซเวียตไม่ยอมอ่อนข้อในกรณีนี้ สงครามนิวเคลียร์ระหว่างมหาอำนาจทั้งสองก็อาจเกิดขึ้นได้
อีก 4 วัน ต่อมา ครุสชอฟผู้นำของโซเวียตก็ยอมประนีประนอม และแถลงว่าจะถอนฐานยิงและจรวดต่าง ๆ ออกไปจากคิวบา ถ้าหากสหรัฐอเมริกายอมตกลงที่จะไม่บุกคิวบา ในที่สุดวิกฤตการณ์อันตึงเครียดและการเผชิญหน้าระหว่างมหาอำนาจนิวเคลียร์ก็ผ่านไปโดยเรียบร้อย ประธานาธิบดีเคเนดี้แห่งสหรัฐอเมริกาได้รับการยกย่องว่ามีความกล้าหาญและชาญฉลาดในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ใช้เครื่องมือทางการทูตและการทหารที่เหมาะสมเปิดโอกาสและทางออกให้ฝ่ายตรงข้ามอย่างโซเวียตเสียเกียรติภูมิไปบ้าง
และต่อมาครุสชอฟถูกกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต และใน ค.ศ. 1965 เลโอนิด เบรสเนฟ (Leonid Brezhnev) ได้ขึ้นมาเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แทน ในขณะเดียวกันนั้นเอง ลินดอน จอห์นสัน (Lyndon B. Johnson) ก็ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกา ความสำเร็จในวิกฤตการณ์คิวบา ทำให้ผู้นำของสหรัฐอเมริกามีความเชื่อมั่นในแสนยานุภาพและความแข็งแรงของตน ส่วนโซเวียตก็ได้รับบทเรียนและเร่งสะสมอาวุธนิวเคลียร์มากขึ้น เพื่อที่จะได้มีความเท่าเทียมทางยุทธศาสตร์กับสหรัฐอเมริกา
แต่เดิมเกาะไต้หวันมี ชื่อว่า เกาะฟอร์โมซา (Formosa) หรือ Ilha Formosa ในภาษาโปรตุเกส แปลว่า "เกาะสวยงาม" เนื่องจากประเทศโปรตุเกสเคยเดินทางมายังเกาะนี้และได้ตั้งชื่อเอาไว้ แต่ก็ไม่ได้ยึดเอามาเป็นอาณานิคม
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1954 จีนมีนโยบายที่จะรวมไต้หวันกลับคืนมาเป็นของจีน แต่ทางสหรัฐอเมริกาได้ส่งกองเรือที่ 7 มาลาดตระเวนในทะเลจีนตอนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ช่องแคบไต้หวัน ทำให้จีนพยายามผลักดันให้สหรัฐอเมริกาออกจากบริเวณนี้ ด้วยการระดมยิงหมู่เกาะนอกฝั่งที่ช่องแคบไต้หวัน อันได้แก่ เกาะคีมอยและเกาะมัทสุ
สหรัฐอเมริกามองว่าจีนเป็นผู้รุกราน ดังนั้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1954 สหรัฐอเมริกาจึงออกแถลงการณ์ว่า สหรัฐอเมริกาจะป้องกันเกาะคีมอยและเกาะมัทสุ เช่นเดียวกับเกาะไต้หวัน จากนั้น สหรัฐอเมริกาได้ส่งกองทหารไปประจำที่ไต้หวันและได้ลงนามในสัญญาพันธมิตรทางทหารเพื่อการป้องกันร่วมกันกับไต้หวัน
เมื่อจีนเห็นว่าวิธีการของตนไม่ประสบผลสำเร็จ แต่กลับทำให้สหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไต้หวันยิ่งขึ้น จีนจึงลดการะดมยิงและยุติไปในที่สุด ขณะที่สหรัฐอเมริกามองว่าจีนเป็นตัวแทนของโซเวียต เพราะจีนได้ลงนามในสัญญามิตรภาพ พันธมิตรและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นเวลา 30 ปี ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1950 สหรัฐอเมริกาจึงเริ่มนโยบายปิดล้อม (Containment Policy) เข้ามาในเอเชีย โดยการทำสัญญาพันธมิตรทางทหารกับประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย เป็นต้น
วิกฤตการณ์คิวบา
คิวบาได้เปลี่ยนแปลงเป็นคอมมิวนิสต์ เมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1959 เมื่อนายฟิเดล คาสโตร สามารถยึดอำนาจจากรัฐบาลเผด็จการของนายพลบาติสตา (Batista) ซึ่งสหรัฐอเมริกาสนับสนุนอยู่ คาสโตรต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมในคิวบาให้มีความยุติธรรมและความเท่าเทียมกันมากขึ้น โดยดำเนินการปฏิรูปที่ดินและปรับปรุงสวัสดิการทางสังคมแก่ประชาชน
คาสโตรเป็นนักปฏิวัติชาตินิยมและต่อต้านสหรัฐอเมริกา เพราะสหรัฐอเมริกาเข้าครอบงำและมีอิทธิพลทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจในคิวบามาเป็นเวลาช้านาน อีกทั้งยังมีฐานทัพอยู่ที่กวนตานาโม (Guantanamo) บนเกาะคิวบา คาสโตรจึงรู้สึกหวาดระแวงสหรัฐอเมริกาและมีนโยบายใกล้ชิดกับประเทศคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโซเวียตซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือทั้งทางด้านทหารและทางเศรษฐกิจแก่คิวบา
ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างคิวบากับโซเวียตทำให้สหรัฐอเมริกาไม่พอใจ เพราะจะช่วยขยายอิทธิพลของโซเวียตแถบทะเลแคริบเบียนและอเมริกากลาง ในขณะเดียวกันชาวคิวบาที่ลี้ภัยในสหรัฐอเมริกาก็ได้รับการฝึกฝนและสนับสนุนจากองค์การข่าวกรองกลาง หรือซีไอเอของสหรัฐอเมริกาให้ยกพลขึ้นบกในคิวบาเพื่อโค่นล้มคาสโตร แผนการนี้ได้เริ่มในปลายสมัยประธานาธิบดีไอเซนฮาวเวอร์ ต่อมาเมื่อได้รับอนุมัติจากประธานาธิบดีเคเนดี้
คิวบาได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาในปีต่อมา ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1962 ฝ่ายข่าวกรองของสหรัฐอเมริกาได้ค้นพบจากภาพถ่ายทางอากาศว่า โซเวียตกำลังสร้างฐานส่งขีปนาวุธนิวเคลียร์บนเกาะคิวบา ซึ่งถ้าหากสร้างสำเร็จและติดตั้งขีปนาวุธได้ก็จะเปรียบประดุจมีขีปนาวุธนิวเคลียร์อยู่หน้าประตูบ้านของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา
ขณะที่ ครุสชอฟ ประธานาธิบดีของโซเวียต คงคิดว่าจะสามารถลอบสร้างฐานยิงจนเสร็จ และเมื่อติดตั้งขีปนาวุธแล้วสหรัฐอเมริกาก็คงไม่กล้าทำอะไร เพราะจะเป็นการเสี่ยงอย่างมากต่อสงครามนิวเคลียร์ อีกทั้งสหรัฐอเมริกาก็ดูเหมือนจะไม่กล้าใช้กำลังรุนแรงโซเวียต เพราะเชื่อว่าตนจะได้เปรียบทางยุทธศาสตร์และจะทำให้พันธมิตรนาโต้ของสหรัฐอเมริกาหมดความเชื่อถือว่า สหรัฐอเมริกาจะสามารถปกป้องยุโรปตะวันตกได้เมื่อเกิดสงคราม
แต่ผู้นำของโซเวียตก็คาดคะเนผิดพลาด เพราะประธานาธิบดีเคเนดี้ของสหรัฐอเมริกาได้ตอบโต้อย่างหนักแน่นโดยการปิดล้อมคิวบา ในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1962 ประธานาธิบดีเคเนดี้ได้แจ้งให้โซเวียตทราบถึงการปิดล้อมคิวบา พร้อมเตือนโซเวียต ในระหว่างวิกฤตการณ์กองกำลังยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาได้เตรียมพร้อมต่อการถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ สหรัฐอเมริกาได้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงไปชี้แจงสถานการณ์พร้อมด้วยภาพถ่ายและหลักฐานอื่น ๆ ต่อคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติและพันธมิตรในยุโรป
จุดวิกฤตของสถานการณ์ครั้งนี้ก็คือ เมื่อเรือสินค้าจำนวนหนึ่งของโซเวียต ซึ่งเชื่อว่าบรรทุกขีปนาวุธนิวเคลียร์เพื่อมาติดตั้งยังคิวบาได้เข้าใกล้กองเรือของสหรัฐอเมริกาที่กำลังปิดล้อมคิวบาอยุ่ในวันที่ 24 ตุลาคม แต่เรือเหล่านี้ก็หันลำกลับไปยังโซเวียต โดยมิได้ฝ่ากองเรือปิดล้อมเข้ามา ซึ่งถ้าหากโซเวียตไม่ยอมอ่อนข้อในกรณีนี้ สงครามนิวเคลียร์ระหว่างมหาอำนาจทั้งสองก็อาจเกิดขึ้นได้
อีก 4 วัน ต่อมา ครุสชอฟผู้นำของโซเวียตก็ยอมประนีประนอม และแถลงว่าจะถอนฐานยิงและจรวดต่าง ๆ ออกไปจากคิวบา ถ้าหากสหรัฐอเมริกายอมตกลงที่จะไม่บุกคิวบา ในที่สุดวิกฤตการณ์อันตึงเครียดและการเผชิญหน้าระหว่างมหาอำนาจนิวเคลียร์ก็ผ่านไปโดยเรียบร้อย ประธานาธิบดีเคเนดี้แห่งสหรัฐอเมริกาได้รับการยกย่องว่ามีความกล้าหาญและชาญฉลาดในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ใช้เครื่องมือทางการทูตและการทหารที่เหมาะสมเปิดโอกาสและทางออกให้ฝ่ายตรงข้ามอย่างโซเวียตเสียเกียรติภูมิไปบ้าง
และต่อมาครุสชอฟถูกกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต และใน ค.ศ. 1965 เลโอนิด เบรสเนฟ (Leonid Brezhnev) ได้ขึ้นมาเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แทน ในขณะเดียวกันนั้นเอง ลินดอน จอห์นสัน (Lyndon B. Johnson) ก็ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกา ความสำเร็จในวิกฤตการณ์คิวบา ทำให้ผู้นำของสหรัฐอเมริกามีความเชื่อมั่นในแสนยานุภาพและความแข็งแรงของตน ส่วนโซเวียตก็ได้รับบทเรียนและเร่งสะสมอาวุธนิวเคลียร์มากขึ้น เพื่อที่จะได้มีความเท่าเทียมทางยุทธศาสตร์กับสหรัฐอเมริกา
ภาพประกอบจาก GERARD MALIE / AFP
กัมพูชา/ลาว
กัมพูชา
กัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสตามข้อตกลงเจนีวา เมื่อปี ค.ศ. 1954 โดยมีเจ้านโรดมสุรามริต เป็นกษัตริย์ ส่วนเจ้านโรดมสีหนุ ได้ตั้งพรรคการเมือง คือ Popular Socialist Party เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งและได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1955 เมื่อเจ้านโรดม สุรามริตสวรรคต ในปี ค.ศ. 1960 เจ้านโรดมสีหนุจึงรวมอำนาจทางการเมืองและประมุขประเทศเข้าด้วยกัน
ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ เจ้านโรดมสีหนุได้ประกาศนโยบายเป็นกลางเพื่อที่จะได้รับความช่วยเหลือจากทั้งสองฝ่าย และเจ้านโรดมสีหนุยังยอมให้เวียดกง และกองทัพเวียดมินห์เข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการตามแนวชายแดนเพื่อสะดวกในการเข้าไปปฏิบัติงานในเวียดนามใต้ กัมพูชาจึงเป็นเป้าหมายให้เวียดนามใต้โจมตี ทำให้ประชาชนชาวกัมพูชาตามแนวชายแดนได้รับความเดือดร้อน
ปี ค.ศ. 1970 นายพลลอนนอล ทำการยึดอำนาจจากเจ้านโรดมสีหนุ ในขณะที่พระองค์เสด็จเยือนโซเวียตและจีน นายพลลอนนอลได้จัดตั้งรัฐบาล เจ้านโรดมสีหนุจึงเสด็จลี้ภัยไปประทับที่กรุงปักกิ่งและสนับสนุนให้คอมมิวนิสต์กัมพูชา "เขมรแดง" ทำการสู้รบกับรัฐบาลนายพลลอนนอล
สหรัฐอเมริกาจึงส่งทหารเข้าไปปฏิบัติการสู้รบกับฝ่ายเขมรแดง แต่ก็ไม่สามารถต้านทานกองกำลังเขมรแดงซึ่งมีนายพลพต (Pol Pot) เป็นผู้นำได้ ในที่สุดเขมรแดงก็เข้ายึดกรุงพนมเปญได้สำเร็จเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1975 ได้จัดการปกครองแบบสังคมนิยม และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นกัมพูชาประชาธิปไตย
ต่อมาเวียดนามสนับสนุนให้นายเฮง สัมริน (Heng Samrin) เข้ายึดอำนาจจากนายพลพต และยึดกรุงพนมเปญได้เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1979 ชาวกัมพูชาส่วนใหญ่จึงอพยพมาตั้งมั่นอยู่ตามแนวชายแดนไทย โดยแยกเป็น 3 ฝ่าย คือ เขมรรักชาติภายใต้การนำของเจ้านโรดมสีหนุ เขมรสรีภายใต้การนำของนายซอนซานน์ (Son Sann) และเขมรแดงภายใต้การนำของนายเขียว สัมพันธ์ (Khieu Samphan) เขมรทั้ง 3 ฝ่ายได้ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้น ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) ประเทศมาเลเซีย โดยได้รับการรับรองจากสหประชาชาติและทำการสู้รบกับกลุ่มเฮง สัมริน เรื่อยมาตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 1979 ถึงวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1991 จึงได้ลงนามสันติภาพที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
หลังจากนั้นสหประชาชาติได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ถ่ายโอนอำนาจที่เรียกว่า UNTAC (United Nations Transitional Authority in Cambodia) มีนายยาซูซิ อะกาชิ เป็นหัวหน้า เข้าไปปฏิบัติงานในกัมพูชาเพื่อเตรียมอพยพผู้คนจากศูนย์อพยพตามแนวชายแดนไทยและเตรียมการเลือกตั้งวันที่ 23-28 พฤษภาคม ค.ศ. 1993 กัมพูชาจัดการเลือกตั้งแต่เขมรแดงไม่ยอมเข้าร่วมเพราะต้องการผลักดันชาวเวียดนามให้ออกจากกัมพูชา
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคฟุนชินเปก ของเจ้านโรดม รณฤทธิ์ ได้รับชัยชนะเหนือพรรคประชาชนกัมพูชา ของนายฮุนเซน (Hun Sen) และทั้งสองพรรคได้ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลปกครองกัมพูชา โดยมีเจ้านโรดมรณฤทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 และนายฮุนเซนเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2
ลาว
ฝรั่งเศสได้ผนวกลาวเข้าเป็นอาณานิคม เมื่อปี ค.ศ. 1898 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เมื่อปี ค.ศ. 1944 ญี่ปุ่นเข้ายึดครองลาวและสนับสนุนให้ลาวประกาศเอกราช พระเจ้าศรีสว่างวงศ์ จึงทรงประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1944
แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ฝรั่งเศสได้กลับเข้ามามีอำนาจ ในลาวอีก ทำให้พวกชาตินิยมไม่พอใจ เจ้าเพชราช จึงจัดตั้ง "ขบวนการลาวอิสระ" ขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1945 และจัดตั้งรัฐบาลที่กรุงเวียงจันทน์ ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1949 อย่างไรก็ตาม แม้ฝรั่งเศสจะให้เอกราชแก่ลาว แต่ฝรั่งเศสยังควบคุมนโยบายที่สำคัญ ๆ เช่น การทหาร เศรษฐกิจ และด้านต่างประเทศ
จากการที่ฝรั่งเศสให้เอกราชแก่ลาวไม่สมบูรณ์ ทำให้ขบวนการลาวอิสระแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายเจ้าบุญอุ้ม ณ จัมปาศักดิ์ และเจ้าสุวรรณภูมา ซึ่งยอมรับข้อเสนอของฝรั่งเศสเพื่อประนีประนอม ส่วนเจ้าสุภานุวงศ์ต้องการเอกราชอย่างสมบูรณ์ จึงขอความช่วยเหลือจากขบวนการเวียดมินห์ของโฮจิมินห์ และได้ก่อตั้งขบวนการกู้ชาติคือ "ขบวนการประเทดลาว" โดยจัดตั้งรัฐบาลที่แคว้นซำเหนือ เมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้เวียดนามที่เดียนเบียนฟู (Dienbienphu) ลาวจึงได้รับเอกราชตามข้อตกลงที่เจนีวา ปี ค.ศ. 1954
หลังจากได้รับเอกราช ลาวแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ทางเหนือ ได้แก่ แขวงพงศาลีและซำเหนือ อยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าสุภานุวงศ์ ส่วนทางใต้อยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าสุวรรณภูมา ต่อมา ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1957 ลาวทั้ง 2 ฝ่าย ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมโดยมีเจ้าสุวรรณภูมา เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ก็ไม่สามารถดำเนินนโยบายร่วมกันได้
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1960 ร้อยเอกกองแล ทำการปฏิวัติจัดตั้งรัฐบาลโดยมี เจ้าสุวรรณภูมา เป็นนายกรัฐมนตรี แต่บริหารประเทศได้ไม่นานก็ถูกนายพลภูมีหน่อสวัน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาทำการปฏิวัติและจัดตั้งรัฐบาลโดยมีเจ้าบุญอุ้ม ณ จัมปาศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้น ลาวได้แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ
1. ลาวฝ่ายซ้าย – ภายใต้การนำของเจ้าสุภานุวงศ์
2. ลาวฝ่ายขวา - ภายใต้การนำของนายพลภูมีหน่อสวัน
3. ลาวฝ่ายกลาง – ภายใต้การนำของเจ้าสุวรรณภูมา
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1962 ลาวทั้ง 3 ฝ่ายได้จัดตั้งรัฐบาลผสม โดยมีเจ้าสุวรรณภูมาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่รัฐบาลผสมไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ทหารต่างชาติ ซึ่งได้แก่ โซเวียต จีน และเวียดนาม รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ต่างก็ประจำอยู่ในลาวเพื่อให้การช่วยเหลือลาวฝ่ายที่ตนให้การสนับสนุน
สหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนให้นายพลวังเปาจัดตั้งกองทัพแม้ว มีฐานปฏิบัติการอยู่ที่ล่องแจ้ง โดยมีศูนย์การฝึกอยู่ที่ จ.อุดรธานี สงครามในลาวจึงได้เกิดขึ้น โดยรัฐบาลของเจ้าสุวรรณภูมาไม่สามารถสกัดกั้นไว้ได้
เมื่อสหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากอินโดจีน ตามวาทะนิกสัน ขบวนการปะเทดลาวจึงยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลให้จัดตั้งรัฐบาลผสมอีกครั้ง โดยมีเจ้าสุวรรณภูมาเป็นนายกรัฐมนตรี กระทั่งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1975 ขบวนการปะเทดลาวหรือลาวฝ่ายซ้าย ก็สามารถยึดอำนาจการปกครองลาวได้ ลาวดำเนินการปกครองตามแนวสังคมนิยม โดยมีเจ้าสุภานุวงศ์ เป็นประธานาธิบดี และนายไกรสร พรหมวิหาร เป็นนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันผู้นำประเทศลาวเปลี่ยนชื่อเรียกเป็นประธานประเทศ
กัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสตามข้อตกลงเจนีวา เมื่อปี ค.ศ. 1954 โดยมีเจ้านโรดมสุรามริต เป็นกษัตริย์ ส่วนเจ้านโรดมสีหนุ ได้ตั้งพรรคการเมือง คือ Popular Socialist Party เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งและได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1955 เมื่อเจ้านโรดม สุรามริตสวรรคต ในปี ค.ศ. 1960 เจ้านโรดมสีหนุจึงรวมอำนาจทางการเมืองและประมุขประเทศเข้าด้วยกัน
ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ เจ้านโรดมสีหนุได้ประกาศนโยบายเป็นกลางเพื่อที่จะได้รับความช่วยเหลือจากทั้งสองฝ่าย และเจ้านโรดมสีหนุยังยอมให้เวียดกง และกองทัพเวียดมินห์เข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการตามแนวชายแดนเพื่อสะดวกในการเข้าไปปฏิบัติงานในเวียดนามใต้ กัมพูชาจึงเป็นเป้าหมายให้เวียดนามใต้โจมตี ทำให้ประชาชนชาวกัมพูชาตามแนวชายแดนได้รับความเดือดร้อน
ปี ค.ศ. 1970 นายพลลอนนอล ทำการยึดอำนาจจากเจ้านโรดมสีหนุ ในขณะที่พระองค์เสด็จเยือนโซเวียตและจีน นายพลลอนนอลได้จัดตั้งรัฐบาล เจ้านโรดมสีหนุจึงเสด็จลี้ภัยไปประทับที่กรุงปักกิ่งและสนับสนุนให้คอมมิวนิสต์กัมพูชา "เขมรแดง" ทำการสู้รบกับรัฐบาลนายพลลอนนอล
สหรัฐอเมริกาจึงส่งทหารเข้าไปปฏิบัติการสู้รบกับฝ่ายเขมรแดง แต่ก็ไม่สามารถต้านทานกองกำลังเขมรแดงซึ่งมีนายพลพต (Pol Pot) เป็นผู้นำได้ ในที่สุดเขมรแดงก็เข้ายึดกรุงพนมเปญได้สำเร็จเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1975 ได้จัดการปกครองแบบสังคมนิยม และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นกัมพูชาประชาธิปไตย
ต่อมาเวียดนามสนับสนุนให้นายเฮง สัมริน (Heng Samrin) เข้ายึดอำนาจจากนายพลพต และยึดกรุงพนมเปญได้เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1979 ชาวกัมพูชาส่วนใหญ่จึงอพยพมาตั้งมั่นอยู่ตามแนวชายแดนไทย โดยแยกเป็น 3 ฝ่าย คือ เขมรรักชาติภายใต้การนำของเจ้านโรดมสีหนุ เขมรสรีภายใต้การนำของนายซอนซานน์ (Son Sann) และเขมรแดงภายใต้การนำของนายเขียว สัมพันธ์ (Khieu Samphan) เขมรทั้ง 3 ฝ่ายได้ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้น ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) ประเทศมาเลเซีย โดยได้รับการรับรองจากสหประชาชาติและทำการสู้รบกับกลุ่มเฮง สัมริน เรื่อยมาตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 1979 ถึงวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1991 จึงได้ลงนามสันติภาพที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
หลังจากนั้นสหประชาชาติได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ถ่ายโอนอำนาจที่เรียกว่า UNTAC (United Nations Transitional Authority in Cambodia) มีนายยาซูซิ อะกาชิ เป็นหัวหน้า เข้าไปปฏิบัติงานในกัมพูชาเพื่อเตรียมอพยพผู้คนจากศูนย์อพยพตามแนวชายแดนไทยและเตรียมการเลือกตั้งวันที่ 23-28 พฤษภาคม ค.ศ. 1993 กัมพูชาจัดการเลือกตั้งแต่เขมรแดงไม่ยอมเข้าร่วมเพราะต้องการผลักดันชาวเวียดนามให้ออกจากกัมพูชา
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคฟุนชินเปก ของเจ้านโรดม รณฤทธิ์ ได้รับชัยชนะเหนือพรรคประชาชนกัมพูชา ของนายฮุนเซน (Hun Sen) และทั้งสองพรรคได้ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลปกครองกัมพูชา โดยมีเจ้านโรดมรณฤทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 และนายฮุนเซนเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2
ลาว
ฝรั่งเศสได้ผนวกลาวเข้าเป็นอาณานิคม เมื่อปี ค.ศ. 1898 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เมื่อปี ค.ศ. 1944 ญี่ปุ่นเข้ายึดครองลาวและสนับสนุนให้ลาวประกาศเอกราช พระเจ้าศรีสว่างวงศ์ จึงทรงประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1944
แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ฝรั่งเศสได้กลับเข้ามามีอำนาจ ในลาวอีก ทำให้พวกชาตินิยมไม่พอใจ เจ้าเพชราช จึงจัดตั้ง "ขบวนการลาวอิสระ" ขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1945 และจัดตั้งรัฐบาลที่กรุงเวียงจันทน์ ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1949 อย่างไรก็ตาม แม้ฝรั่งเศสจะให้เอกราชแก่ลาว แต่ฝรั่งเศสยังควบคุมนโยบายที่สำคัญ ๆ เช่น การทหาร เศรษฐกิจ และด้านต่างประเทศ
จากการที่ฝรั่งเศสให้เอกราชแก่ลาวไม่สมบูรณ์ ทำให้ขบวนการลาวอิสระแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายเจ้าบุญอุ้ม ณ จัมปาศักดิ์ และเจ้าสุวรรณภูมา ซึ่งยอมรับข้อเสนอของฝรั่งเศสเพื่อประนีประนอม ส่วนเจ้าสุภานุวงศ์ต้องการเอกราชอย่างสมบูรณ์ จึงขอความช่วยเหลือจากขบวนการเวียดมินห์ของโฮจิมินห์ และได้ก่อตั้งขบวนการกู้ชาติคือ "ขบวนการประเทดลาว" โดยจัดตั้งรัฐบาลที่แคว้นซำเหนือ เมื่อฝรั่งเศสพ่ายแพ้เวียดนามที่เดียนเบียนฟู (Dienbienphu) ลาวจึงได้รับเอกราชตามข้อตกลงที่เจนีวา ปี ค.ศ. 1954
หลังจากได้รับเอกราช ลาวแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ทางเหนือ ได้แก่ แขวงพงศาลีและซำเหนือ อยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าสุภานุวงศ์ ส่วนทางใต้อยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าสุวรรณภูมา ต่อมา ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1957 ลาวทั้ง 2 ฝ่าย ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมโดยมีเจ้าสุวรรณภูมา เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ก็ไม่สามารถดำเนินนโยบายร่วมกันได้
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1960 ร้อยเอกกองแล ทำการปฏิวัติจัดตั้งรัฐบาลโดยมี เจ้าสุวรรณภูมา เป็นนายกรัฐมนตรี แต่บริหารประเทศได้ไม่นานก็ถูกนายพลภูมีหน่อสวัน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาทำการปฏิวัติและจัดตั้งรัฐบาลโดยมีเจ้าบุญอุ้ม ณ จัมปาศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้น ลาวได้แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ
1. ลาวฝ่ายซ้าย – ภายใต้การนำของเจ้าสุภานุวงศ์
2. ลาวฝ่ายขวา - ภายใต้การนำของนายพลภูมีหน่อสวัน
3. ลาวฝ่ายกลาง – ภายใต้การนำของเจ้าสุวรรณภูมา
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1962 ลาวทั้ง 3 ฝ่ายได้จัดตั้งรัฐบาลผสม โดยมีเจ้าสุวรรณภูมาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่รัฐบาลผสมไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ทหารต่างชาติ ซึ่งได้แก่ โซเวียต จีน และเวียดนาม รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ต่างก็ประจำอยู่ในลาวเพื่อให้การช่วยเหลือลาวฝ่ายที่ตนให้การสนับสนุน
สหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนให้นายพลวังเปาจัดตั้งกองทัพแม้ว มีฐานปฏิบัติการอยู่ที่ล่องแจ้ง โดยมีศูนย์การฝึกอยู่ที่ จ.อุดรธานี สงครามในลาวจึงได้เกิดขึ้น โดยรัฐบาลของเจ้าสุวรรณภูมาไม่สามารถสกัดกั้นไว้ได้
เมื่อสหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากอินโดจีน ตามวาทะนิกสัน ขบวนการปะเทดลาวจึงยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลให้จัดตั้งรัฐบาลผสมอีกครั้ง โดยมีเจ้าสุวรรณภูมาเป็นนายกรัฐมนตรี กระทั่งในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1975 ขบวนการปะเทดลาวหรือลาวฝ่ายซ้าย ก็สามารถยึดอำนาจการปกครองลาวได้ ลาวดำเนินการปกครองตามแนวสังคมนิยม โดยมีเจ้าสุภานุวงศ์ เป็นประธานาธิบดี และนายไกรสร พรหมวิหาร เป็นนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันผู้นำประเทศลาวเปลี่ยนชื่อเรียกเป็นประธานประเทศ
วิกฤตการณ์อินโดจีน
วิกฤตการณ์อินโดจีน
เวียดนาม
เวียดนาม ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1883 ทำให้ใน ปี ค.ศ. 1898 ฝรั่งเศสได้รวมเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ไว้ภายใต้การปกครองเรียกว่า อินโดจีนของฝรั่งเศส มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่กรุงไซ่ง่อน และฝรั่งเศสก็ได้ส่งข้าหลวงใหญ่มาปกครอง
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองอินโดจีน และได้ประกาศมอบเอกราชให้เวียดนามในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 โดยเชิญพระจักรพรรดิเบาได๋ (Bao Dai) ขึ้นเป็นประมุข เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม โฮจิมินห์ นักปฏิวัติชาวเวียดนาม จึงนำกองทัพเวียดมินห์ เข้ายึดครองเวียดนาม และประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 เปลี่ยนชื่อประเทศเวียดนาม เป็น “สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม” โดยมี โฮจิมินห์เป็นประธานาธิบดี และนายฟาม-วันดง เป็นนายกรัฐมนตรี
แต่เมื่อญี่ปุ่นถอนทหารออกไปจากเวียดนามหมดแล้ว ฝรั่งเศสกลับเข้ามาในเวียดนามอีก จึงเกิดการสู้รบกับกองกำลังเวียดมินห์ การสู้รบดำเนินไปถึงวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1954 กองทัพเวียดมินห์สามารถยึดป้อมเดียนเบียนฟู ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของฝรั่งเศสได้ ฝรั่งเศสยอมเจรจาสงบศึกที่กรุงเจนีวา (Jeneva) ส่งผลให้เวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เวียดนามเหนือ จัดการปกครองแบบสังคมนิยม และเวียดนามใต้จัดการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยมีเส้นขนานที่ 17 เป็นเส้นแบ่งเขตแดน
สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหารแก่เวียดนามใต้เพื่อให้มีความเข้มแข็ง สามารถต้านทานอิทธิพลของเวียดนามเหนือได้ แต่ประธานาธิบดีโงดินเดียม (Ngo Dinh Diem) บริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนผนึกกำลังกันจัดตั้ง "แนวร่วมปลดแอกแห่งชาติ" หรือที่เรียกว่า "เวียดกง" เพื่อโค่นล้มรัฐบาลโดยใช้ยุทธวิธีการรบแบบสงครามกองโจร และได้รับการสนับสนุนด้วยอาวุธจากเวียดนามเหนือ จีน และโซเวียต
เวียดนามใต้ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้นำหลายครั้ง แต่ก็ไม่สามารถทำให้สถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมมั่นคงได้ การสู้รบระหว่างเวียดกงกับรัฐบาล จึงขยายตัวอย่างกว้างขวาง สหรัฐอเมริกาจึงส่งทหารเข้าร่วมปฏิบัติการเป็นจำนวนถึง 500,000 คน ในปี ค.ศ. 1968 สงครามเวียดนามจึงกลายเป็นสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับทหารเวียดนามเหนือและเวียดกง สหรัฐอเมริกาได้ทุ่มเททั้งกำลังทหารและพยายามใช้ยุทธวิธีต่าง ๆ ในการสู้รบ แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะสงครามได้
เมื่อประธานาธิบดีนิกสันได้รับเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1969 ได้ประกาศลัทธินิกสัน (Nixon Doctrine) และพยายามหาทางเจรจายุติสงคราม ในที่สุดก็สามารถลงนามในข้อตกลงด้วยการยุติสงครามตามข้อตกลงปารีส เมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1973 หลังจากสหรัฐอเมริกาถอนทหารออกจากเวียดนามใต้แล้ว การสู้รบระหว่างเวียดนามใต้กับเวียดนามเหนือก็ยังคงดำเนินอยู่จนถึงวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1975 เวียดนามเหนือมีชัยชนะต่อเวียดนามใต้และได้รวมประเทศเวียดนามได้สำเร็จ
เวียดนาม
เวียดนาม ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1883 ทำให้ใน ปี ค.ศ. 1898 ฝรั่งเศสได้รวมเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ไว้ภายใต้การปกครองเรียกว่า อินโดจีนของฝรั่งเศส มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่กรุงไซ่ง่อน และฝรั่งเศสก็ได้ส่งข้าหลวงใหญ่มาปกครอง
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองอินโดจีน และได้ประกาศมอบเอกราชให้เวียดนามในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 โดยเชิญพระจักรพรรดิเบาได๋ (Bao Dai) ขึ้นเป็นประมุข เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม โฮจิมินห์ นักปฏิวัติชาวเวียดนาม จึงนำกองทัพเวียดมินห์ เข้ายึดครองเวียดนาม และประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 เปลี่ยนชื่อประเทศเวียดนาม เป็น “สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม” โดยมี โฮจิมินห์เป็นประธานาธิบดี และนายฟาม-วันดง เป็นนายกรัฐมนตรี
แต่เมื่อญี่ปุ่นถอนทหารออกไปจากเวียดนามหมดแล้ว ฝรั่งเศสกลับเข้ามาในเวียดนามอีก จึงเกิดการสู้รบกับกองกำลังเวียดมินห์ การสู้รบดำเนินไปถึงวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1954 กองทัพเวียดมินห์สามารถยึดป้อมเดียนเบียนฟู ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของฝรั่งเศสได้ ฝรั่งเศสยอมเจรจาสงบศึกที่กรุงเจนีวา (Jeneva) ส่งผลให้เวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เวียดนามเหนือ จัดการปกครองแบบสังคมนิยม และเวียดนามใต้จัดการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยมีเส้นขนานที่ 17 เป็นเส้นแบ่งเขตแดน
สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหารแก่เวียดนามใต้เพื่อให้มีความเข้มแข็ง สามารถต้านทานอิทธิพลของเวียดนามเหนือได้ แต่ประธานาธิบดีโงดินเดียม (Ngo Dinh Diem) บริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนผนึกกำลังกันจัดตั้ง "แนวร่วมปลดแอกแห่งชาติ" หรือที่เรียกว่า "เวียดกง" เพื่อโค่นล้มรัฐบาลโดยใช้ยุทธวิธีการรบแบบสงครามกองโจร และได้รับการสนับสนุนด้วยอาวุธจากเวียดนามเหนือ จีน และโซเวียต
เวียดนามใต้ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้นำหลายครั้ง แต่ก็ไม่สามารถทำให้สถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมมั่นคงได้ การสู้รบระหว่างเวียดกงกับรัฐบาล จึงขยายตัวอย่างกว้างขวาง สหรัฐอเมริกาจึงส่งทหารเข้าร่วมปฏิบัติการเป็นจำนวนถึง 500,000 คน ในปี ค.ศ. 1968 สงครามเวียดนามจึงกลายเป็นสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับทหารเวียดนามเหนือและเวียดกง สหรัฐอเมริกาได้ทุ่มเททั้งกำลังทหารและพยายามใช้ยุทธวิธีต่าง ๆ ในการสู้รบ แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะสงครามได้
เมื่อประธานาธิบดีนิกสันได้รับเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1969 ได้ประกาศลัทธินิกสัน (Nixon Doctrine) และพยายามหาทางเจรจายุติสงคราม ในที่สุดก็สามารถลงนามในข้อตกลงด้วยการยุติสงครามตามข้อตกลงปารีส เมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1973 หลังจากสหรัฐอเมริกาถอนทหารออกจากเวียดนามใต้แล้ว การสู้รบระหว่างเวียดนามใต้กับเวียดนามเหนือก็ยังคงดำเนินอยู่จนถึงวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1975 เวียดนามเหนือมีชัยชนะต่อเวียดนามใต้และได้รวมประเทศเวียดนามได้สำเร็จ
วิกฤตการณ์คาบสมุทรเกาหลี
วิกฤตการณ์คาบสมุทรเกาหลี
ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง คาบสมุทรเกาหลีได้ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น แต่เมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1945 คาบสมุทรเกาหลีได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่เส้นขนานที่ 38 องศาเหนือ โดยโซเวียตควบคุมดูแลดินแดนส่วนเหนือหรือเกาหลีเหนือ และสหรัฐอเมริกาดูแลดินแดนทางใต้ของเส้นขนานที่ 38 เรียกว่า เกาหลีใต้
ต่อมาในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 เกาหลีเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโซเวียต ได้โจมตีเกาหลีใต้เพื่อรวมเกาหลีทั้งหมดให้อยู่ภายใต้คอมมิวนิสต์ โดยคิดว่า สหรัฐอเมริกาคงจะไม่ปกป้องเกาหลีใต้ เพราะผู้นำของสหรัฐอเมริกาได้เคยประกาศว่า แนวป้องกันของสหรัฐอเมริกาจะอยู่ที่หมู่เกาะชายฝั่งตั้งแต่ญี่ปุ่นถึงฟิลิปปินส์ แต่เมื่อกองทัพของเกาหลีเหนือรุกผ่านเส้นขนานที่ 38 ลงสู่เกาหลีใต้อย่างรวดเร็ว สหรัฐอเมริกาได้มองการโจมตีครั้งนี้ว่าเป็นการท้าทายของฝ่ายคอมมิวนิสต์และเป็นการพยายามที่จะขยายอิทธิพลของฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้ามาในเอเชีย
สหรัฐอเมริกาได้ประท้วงการรุกรานเกาหลีใต้ต่อคณะมนตรีความมั่นคงและองค์การสหประชาชาติ ซึ่งได้มีมติให้ดำเนินการตอบโต้ โดยกำลังทหารของสหประชาชาติและของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอกแมคอาร์เธอร์ ได้โจมตีกำลังของฝ่ายเกาหลีเหนือจนถอยร่นไปถึงเส้นขนานที่ 38 ทำให้ผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนจีนออกแถลงการณ์เตือนมิให้กำลังของฝายสหประชาชาติและของสหรัฐอเมริกาล่วงล้ำเลยเข้าไปในดินแดนเกาหลีเหนือ มิฉะนั้นจีนจะเข้าสู่สงครามด้วย เพราะจีนเกรงว่าถ้าเกาหลีเหนือถูกยึดครอง จีนจะขาดรัฐกันชน และเป็นการคุกคามความมั่นคงปลอดภัยของจีน
แต่ทว่า กองกำลังของสหประชาชาติไม่สนใจคำเตือนของจีน ตัดสินใจรุกข้ามเส้นขนานที่ 38 จีนจึงส่งกองกำลังข้ามพรมแดนจีนที่แม่น้ำยาลู เข้าสู่คาบสมุทรเกาลีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1950 และปะทะกับทหารสหประชาชาติในเดือนพฤศจิกายน การสู้รบเป็นไปอย่างยืดเยื้อโดยไม่มีฝ่ายใดได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด แม้ว่าจีนจะสูญเสียกำลังเป็นอย่างมาก
ขณะที่ประธานาธิบดีทรูแมนแห่งสหรัฐอเมริกาได้มีความเห็นขัดแย้งกับพลเอกแมคอาเธอร์เกี่ยวกับนโยบายในการทำสงคราม โดยประธานาธิบดีทรูแมนต้องการจำกัดการปฏิบัติการทางทหาร เพราะไม่ต้องการให้สงครามขยายตัวจนอาจเป็นสงครามโลกได้ แต่นายพลแมคอาเธอร์ไม่เห็นด้วย ประธานาธิบดีทรูแมนจึงได้สั่งปลดนายพลแมคอาเธอร์ออกจากตำแหน่งในเดือนเมษายน ค.ศ. 1951
ต่อมาในเดือนมิถุนายน โซเวียตเสนอให้มีการเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในเกาหลี การเจรจาได้ดำเนินอยู่หลายปี ก็สามารถลงนามในข้อตกลงหยุดยิงระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือฝ่ายหนึ่ง จนกระทั่งปี ค.ศ. 1953 สงครามในคาบสมุทรเกาหลีจึงได้ยุติลง แต่ความตึงเครียดบริเวณพรมแดนที่เส้นขนานที่ 38 ยังคงดำรงอยู่
สงครามเกาหลีได้ส่งผลกระทบต่อการเมืองระหว่างประเทศในเอเชียหลายประการ เนื่องจากสงครามเกาหลีนับเป็นการเผชิญหน้าทางทหารครั้งแรกระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีน จีนถูกสหรัฐอเมริกากล่าวหาและประณามว่าเป็นผู้รุกรานและก้าวร้าว คำประณามของสหรัฐอเมริกาทำให้ภาพพจน์ของจีนเสียหายในสายตาของชาวโลก เพราะมองว่าการที่จีนจำต้องเข้าร่วมรบในสมรภูมิเกาหลี ก็เพื่อป้องกันมิให้เกาหลีเหนือถูกยึดครอง ซึ่งจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของจีนและยิ่งไปกว่านั้นในการร่วมสงครามครั้งนี้ จีนต้องสูญเสียทรัพยากรต่าง ๆ ซึ่งจีนมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้จีนต้องชะลอการฟื้นฟูบูรณะประเทศไป
ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง คาบสมุทรเกาหลีได้ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น แต่เมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1945 คาบสมุทรเกาหลีได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่เส้นขนานที่ 38 องศาเหนือ โดยโซเวียตควบคุมดูแลดินแดนส่วนเหนือหรือเกาหลีเหนือ และสหรัฐอเมริกาดูแลดินแดนทางใต้ของเส้นขนานที่ 38 เรียกว่า เกาหลีใต้
ภาพประกอบจาก AFP
ในปี ค.ศ. 1948 ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มถอนทหารออกจากดินแดนดังกล่าว ทั้งนี้ เกาหลีเหนือมีรัฐบาลคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของ คิม อิล ซุง ส่วนในเกาหลีใต้นั้นมีการปกครองในแบบประชาธิปไตยภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาต่อมาในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 เกาหลีเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโซเวียต ได้โจมตีเกาหลีใต้เพื่อรวมเกาหลีทั้งหมดให้อยู่ภายใต้คอมมิวนิสต์ โดยคิดว่า สหรัฐอเมริกาคงจะไม่ปกป้องเกาหลีใต้ เพราะผู้นำของสหรัฐอเมริกาได้เคยประกาศว่า แนวป้องกันของสหรัฐอเมริกาจะอยู่ที่หมู่เกาะชายฝั่งตั้งแต่ญี่ปุ่นถึงฟิลิปปินส์ แต่เมื่อกองทัพของเกาหลีเหนือรุกผ่านเส้นขนานที่ 38 ลงสู่เกาหลีใต้อย่างรวดเร็ว สหรัฐอเมริกาได้มองการโจมตีครั้งนี้ว่าเป็นการท้าทายของฝ่ายคอมมิวนิสต์และเป็นการพยายามที่จะขยายอิทธิพลของฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้ามาในเอเชีย
สหรัฐอเมริกาได้ประท้วงการรุกรานเกาหลีใต้ต่อคณะมนตรีความมั่นคงและองค์การสหประชาชาติ ซึ่งได้มีมติให้ดำเนินการตอบโต้ โดยกำลังทหารของสหประชาชาติและของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอกแมคอาร์เธอร์ ได้โจมตีกำลังของฝ่ายเกาหลีเหนือจนถอยร่นไปถึงเส้นขนานที่ 38 ทำให้ผู้นำของสาธารณรัฐประชาชนจีนออกแถลงการณ์เตือนมิให้กำลังของฝายสหประชาชาติและของสหรัฐอเมริกาล่วงล้ำเลยเข้าไปในดินแดนเกาหลีเหนือ มิฉะนั้นจีนจะเข้าสู่สงครามด้วย เพราะจีนเกรงว่าถ้าเกาหลีเหนือถูกยึดครอง จีนจะขาดรัฐกันชน และเป็นการคุกคามความมั่นคงปลอดภัยของจีน
แต่ทว่า กองกำลังของสหประชาชาติไม่สนใจคำเตือนของจีน ตัดสินใจรุกข้ามเส้นขนานที่ 38 จีนจึงส่งกองกำลังข้ามพรมแดนจีนที่แม่น้ำยาลู เข้าสู่คาบสมุทรเกาลีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1950 และปะทะกับทหารสหประชาชาติในเดือนพฤศจิกายน การสู้รบเป็นไปอย่างยืดเยื้อโดยไม่มีฝ่ายใดได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด แม้ว่าจีนจะสูญเสียกำลังเป็นอย่างมาก
ขณะที่ประธานาธิบดีทรูแมนแห่งสหรัฐอเมริกาได้มีความเห็นขัดแย้งกับพลเอกแมคอาเธอร์เกี่ยวกับนโยบายในการทำสงคราม โดยประธานาธิบดีทรูแมนต้องการจำกัดการปฏิบัติการทางทหาร เพราะไม่ต้องการให้สงครามขยายตัวจนอาจเป็นสงครามโลกได้ แต่นายพลแมคอาเธอร์ไม่เห็นด้วย ประธานาธิบดีทรูแมนจึงได้สั่งปลดนายพลแมคอาเธอร์ออกจากตำแหน่งในเดือนเมษายน ค.ศ. 1951
ต่อมาในเดือนมิถุนายน โซเวียตเสนอให้มีการเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในเกาหลี การเจรจาได้ดำเนินอยู่หลายปี ก็สามารถลงนามในข้อตกลงหยุดยิงระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือฝ่ายหนึ่ง จนกระทั่งปี ค.ศ. 1953 สงครามในคาบสมุทรเกาหลีจึงได้ยุติลง แต่ความตึงเครียดบริเวณพรมแดนที่เส้นขนานที่ 38 ยังคงดำรงอยู่
สงครามเกาหลีได้ส่งผลกระทบต่อการเมืองระหว่างประเทศในเอเชียหลายประการ เนื่องจากสงครามเกาหลีนับเป็นการเผชิญหน้าทางทหารครั้งแรกระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีน จีนถูกสหรัฐอเมริกากล่าวหาและประณามว่าเป็นผู้รุกรานและก้าวร้าว คำประณามของสหรัฐอเมริกาทำให้ภาพพจน์ของจีนเสียหายในสายตาของชาวโลก เพราะมองว่าการที่จีนจำต้องเข้าร่วมรบในสมรภูมิเกาหลี ก็เพื่อป้องกันมิให้เกาหลีเหนือถูกยึดครอง ซึ่งจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของจีนและยิ่งไปกว่านั้นในการร่วมสงครามครั้งนี้ จีนต้องสูญเสียทรัพยากรต่าง ๆ ซึ่งจีนมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้จีนต้องชะลอการฟื้นฟูบูรณะประเทศไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)