วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

วิกฤตการณ์เบอร์ลิน

 ความขัดแย้งของประเทศประชาธิปไตย และสังคมนิยมในภาวะสงครามเย็น

          ความขัดแย้งระหว่างอภิมหาอำนาจได้ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ขึ้นในหลายภูมิภาค ดังนี้


วิกฤตการณ์เบอร์ลิน
    
          เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงในปี ค.ศ. 1945 เยอรมนีแบ่งออกเป็น 4 ส่วน โดยสนธิสัญญาปอทสดัม (Treaty of Potsdam) นั้น ได้ให้ประเทศมหาอำนาจตะวันตก คือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส ครอบครอง 3 ส่วนร่วมกันเรียกว่าเยอรมนีตะวันตก ขณะที่อีกส่วนหนึ่งให้โซเวียตปกครองเรียกว่า เยอรมนีตะวันออก ทำให้กรุงเบอร์ลินนครหลวงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ถูกยึดครองโดยฝ่ายพันธมิตรตะวันตกเรียกว่า เบอร์ลินตะวันตก

สงครามเย็น
ภาพประกอบจาก GÜNTER BRATKE / DPA / AFP
          ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1948 โซเวียตได้ปิดกั้นเส้นทางคมนาคมทางบกที่ผ่านไปยังเบอร์ลินตะวันตก ทำให้พันธมิตร 3 ชาติ ไม่สามารถส่งอาหารและสินค้าต่าง ๆ ไปยังเบอร์ลินตะวันตกได้ เพื่อบังคับให้มหาอำนาจตะวันตกละทิ้งเบอร์ลิน การปิดล้อมครั้งนี้ใช้เวลาเกือบ 1 ปี โดยพันธมิตร 3 ประเทศได้ช่วยกันใช้เครื่องบินลำเลียงสิ่งของ เช่น อาหาร เสื้อผ้า และยารักษาโรคให้แก่ชาวเบอร์ลินตะวันตก เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การแบ่งแยกเยอรมนีเป็น 2 ประเทศ และแบ่งเบอร์ลินเป็น 2 ส่วนอย่างถาวร เรียกว่าวิกฤตการณ์เบอร์ลิน

          โดยอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศสได้รวมเขตการปกครองของตนเข้าด้วยกันเป็นประเทศเอกราชเรียกว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมนีตะวันตก) ฝั่งโซเวียตก็สถาปนาเขตที่ตนเองปกครองเรียกว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมนีตะวันออก) เมื่อแบ่งประเทศแล้ว ชาวเยอรมันตะวันออกได้อพยพมาอยู่ในเขตตะวันตกมากขึ้นตลอดเวลา ทำให้โซเวียตต้องสร้างกำแพงยาวกว่า 27 ไมล์ กั้นระหว่างเบอร์ลินใน ค.ศ.1961 เรียกว่า กำแพงเบอร์ลิน 
           กำแพงเบอร์ลินถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญหนึ่งของสงครามเย็น และถูกทำลายไปเมื่อ ค.ศ. 1989 ขณะที่ มิฮาอิล กอร์บาชอฟ ประธานาธิบดีของสหภาพโซเวียต ยินยอมให้เยอรมนีทั้งสองตัดสินใจอนาคตตนเอง โดยสหภาพโซเวียตจะไม่เข้าแทรกแซง ภายหลังจึงมีการรวมเยอรมนีเป็นประเทศเดียวกันอย่างเป็นทางการ เรียกว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 

          ทั้งนี้ ถือได้ว่าวิกฤตการณ์เบอร์ลิน เป็นผลทำให้สภาวการณ์เผชิญหน้ากันในสงครามเย็นทวีความตึงเครียดยิ่งขึ้น และมีการร่วมมือกันของกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันตกกับสหรัฐอเมริกา และประเทศเสรีประชาธิปไตย เพื่อขจัดการแทรกแซงและขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์กันเป็นระบบ เช่น สหรัฐอเมริกาได้ร่วมมือกับประเทศโลกเสรีก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาทางทหาร เช่น องค์การนาโต้ องค์การซีโต้ องค์การนานารัฐอเมริกาตลอดรวมถึง การตั้งฐานทัพสหรัฐอเมริกา ใน เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ไทย และประเทศอื่นอีกหลายประเทศทั่วโลก

สงครามเย็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น